วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

CPU

CPU


CPU คืออะไร มีกี่ชนิด และมีหลักการทำงานอย่างไร

CPU คือ

    อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ และใช้ในหน่วยประมวลผลและเป็นตัวควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์
ซีพียูที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน
     ซีพียูที่นิยมใช้กันในปัจจุบันเป็นของ  2  คู่แข่งแห่งค่าย  Intel คือ  Celeron, Pentium III  และ Pentium 4  ส่วนค่าย AMD มีซีพียูที่มาแรงคือ  Duron และ Thunderbird

CPU รุ่นที่ยังพอมีใช้งานกันอยู่บ้าง แต่คงไม่มีผลิตออกมาแล้ว

BrandModelSpeedFSBVcoreInterfaceTechonoly
IntelPentium II233-333 MHz66 MHz2.8 V.Slot-10.35Micron MMX L1=32K L2=512K Half Speed
IntelPentium II350-450 MHz100 MHz2.0 V.Slot-10.25Micron MMX L1=32K L2=512K Half Speed
IntelCeleron266-300 MHz66 MHz2.0 V.Slot-10.25Micron MMX L1=32K no L2
IntelCeleron300-533 MHz66 MHz2.0 V.FC-PGA 370 / Slot-10.25 Micron MMX L1=32K L2=128K Full Speed
IntelCeleron II533-766 MHz66 MHz1.50 V.FC-PGA 3700.18Micron MMX SSE Ondie L2=128K Full Speed
IntelCeleron II800-1000 MHz100 MHz1.50 V.FC-PGA 3700.18Micron MMX SSE Ondie L2=128K Full Speed
IntelCeleron II - Tualatin1.0A-1.3A GHz100 MHz1.47 V.FC-PGA 3700.18Micron MMX SSE Ondie L2=256K Full Speed
AMDK6-II266-366 MHz66 MHz2.2 V.Socket 70.25Micron MMX 3DNow! L1=64K
AMDK6-II350-500 MHz100 MHz2.2 V.Socket 70.25Micron MMX 3DNow! L1=64K
AMDK6-III400-450 MHz100 MHz2.4 V.Socket 70.25Micron MMX 3DNow! L1=64K L2=256K Full Speed
AMDK6-II+500-550 MHz100 MHz2.0 V.Socket 70.18Micron MMX 3DNow! L2=128K
AMDK6-III+450 MHz100 MHz2.0 V.Socket 70.18Micron MMX 3DNow! L2=256K
AMDAthlon K7500-1000 MHz200 MHz DDR1.60 V.Slot-A0.25Micron MMX E-3DNow! L1=128K L2=512K Half Speed
CyrixC3700-933 MHz??Socket 370?
IntelPentium III450-600 MHz100 MHz / 133 MHz2.0 V.Slot-10.25 Micron MMX SSE L1=32K ECC L2=512K Half Speed
IntelPentium III500-733 MHz100 MHz / 133 MHz1.65 V.FC-PGA 3700.18Micron MMX SSE Ondie L2=256K Full Speed
IntelPentium III800-1130 MHz133 MHz1.70 V.FC-PGA 3700.18 Micron MMX SSE Ondie L2=256K Full Speed
AMDDuron (Spitfire)600-950 MHz200 MHz DDR1.60 V.Socket A0.18Micron MMX E-3DNow! L1=128K L2=64K Full Speed
AMDDuron (Morgan)1.0-1.3 GHz200 MHz DDR1.60 V.Socket A0.18Micron MMX E-3DNow! L1=128K L2=64K Full Speed
AMDAthlon (Thunder-Bird)700-1333 MHz200/266 MHz DDR1.70 V.Socket A0.18Micron MMX E-3DNow! L1=128K L2=256K Full Speed
IntelCeleron W1.7-2.0 GHz400 MHz QDP1.70 V.FC-PGA 4230.18 Micron MMX SSE2 L2=128K Full Speed
IntelPentium 4 (423)1.3-1.8 GHz400 MHz QDP1.70 V.FC-PGA 4230.18 Micron MMX SSE2 L2=256K Full Speed


และ CPU ที่ยังมีขายและใช้งานอยู่ในตลาดขณะนี้

BrandModelSpeedFSBVcoreInterfaceTechonoly
AMDDuron
(New Core)
1.4-1.6 GHz200 MHz DDR1.60 V.Socket A0.18Micron MMX E-3DNow! L1=128K L2=64K Full Speed
AMDAthlon XP (Palamino)1500+ to 2600+266 MHz DDR1.75 V.Socket A0.18Micron MMX E-3DNow! L1=128K L2=256K Full Speed
AMDAthlon XP (Through-Bred)1700+ to 2800+266 MHz DDR1.50 - 1.60 V.Socket A0.13Micron MMX E-3DNow! L1=128K L2=256K Full Speed
AMDAthlon XP (Barton)2500+ to 3000+333 MHz DDR1.50 - 1.60 V.Socket A0.13Micron MMX E-3DNow! L1=128K L2=512K Full Speed
AMDAthon 64 FX3200+400 MHz DDR?Socket 754Athon 64-bit Core Speed 2.0 GHz L2=1M.
IntelCeleron 4 (Willamette)1.7-2.4 GHz400 MHz QDP1.70 V.FC-PGA 4780.18Micron MMX SSE2 L1=64K L2=128K Full Speed
IntelPentium 4 (Willamette)1.5-2.0 GHz400 MHz QDP1.70 V.FC-PGA 4780.18Micron MMX SSE2 L1=64K L2=256K Full Speed
IntelPentium 4A (Northwood)1.6-2.2 GHz400 MHz QDP1.50 V.FC-PGA 4780.13Micron MMX SSE2 L1=64K L2=512K Full Speed
IntelPentium 4B (Northwood)2.26-3.06 GHz533 MHz QDP1.50 V.FC-PGA 4780.13Micron MMX SSE2 L1=64K L2=512K Full Speed
IntelPentium 4C
(Northwood)
2.4-3.2 GHz800 MHz QDP1.50 V.FC-PGA 4780.13Micron MMX SSE2 L1=64K L2=512K Full Speed (HT)


การเลือกซื้อซีพียู
    การเลือกซีพียูมีขั้นตอนง่ายๆในการพิจารณาคือ “ประสิทธิภาพที่คุ้มค่าต่อการใช้งานของคุณ” กล่าวคือ การจะเลือกซีพียูนั้นให้มองที่การใช้งานประจำวันของคุณเป็นหลัก
ผู้ใช้มือใหม่ เน้นราคาประหยัด
    ในกลุ่มของผู้ที่เริ่มต้นใช้งานคอมพิวเตอร์และต้องการความประหยัด รวมถึงการใช้งานพื้นฐานทั่วไป ตั้งแต่ซอฟแวร์สำนักงานสเปรดซีต ดูหนัง ฟังเพลง เล่นอินเทอร์เน็ต  ที่ไม่จำเป็นต้องใช้การประมวลผลซับซ้อน และส่วนใหญ่จะประกอบเป็นพีซีในราคาประมาณ 10,000-15,000 บาท โดยซีพียูในกลุ่มดังกล่าวนี้ มีหลายรุ่นด้วยกัน ได้แก่ Celeron D/ Celeron –L/Pentium 4 จากค่าย Intel และ Sempron64/Athlon64จากทาง AMD ด้วยสนนราคาตั้งแต่ 1,000-2,500 บาท แต่ในกรณีที่มีงบประมาณสูงขึ้น Pentium Dual Core Athlon 64X2ก็นับเป็นทางเลือกที่คุ้มค่ามากทีเดียวในขณะนี้
ซีพียูที่น่าสนใจในกลุ่มนี้
    Celeron D 420:1.60GH,512KBL2,800MHz,Socket775 ราคา1,300บาท
Athlon 64LE-1600:2.20GHz,102KBL2,SocketAM2ราคา1,750 บาท
Pentium Duo Core E2140:1.60GHz,1024KB L2,800MHz bus,Socket775 ราคาประมาณ 2,550 บาท

กลุ่มนักเล่นเกม
    ในกลุ่มของนักเล่นเกม แม้ว่า ณ วันนี้กราฟิกการ์ดจะเข้ามามีบทบาทมากก็ตาม แต่ลำพังเพียง  GPU  (Graphic Processing Unit) ไม่ได้ทำให้ภาพโดยรวมที่เกิดขึ้นระหว่างการเล่นเกมได้สมบูรณ์เนื่องจากหากขาดซีพียูที่มีประสิทธิภาพสูงไปแล้ว การประมวลผลในด้านของการสร้างองค์ประกอบต่างๆ ภายในภาพและการคำนวณพื้นผิวและสร้างโพลิกกอนก็จะลดลง ซึ่งอาจเกิดอาการกระตุกของภาพ ดังนั้นแล้วซีพียูย่อมเข้ามามีบทบาทอย่างมากสำหรับนักเล่นเกมที่เน้นความสวยงามและความต่อเนื่อง โดยในตลาดเวลานี้ก็มีซีพียูอยู่หลายรุ่นด้วยกันที่ช่วยให้การเล่นเกมมีอรรถรสมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นซีพียูจากค่ายอินเทลที่ประด้วย  Core 2Duo ในรหัส E4xxx,E6xxx และE8xxxรวมถึง Core2Extreme สำหรับค่ายAMD ก็มีให้เลือกทั้ง Athlon 64X2 และAthlon64FX
ซีพียูที่น่าสนในกลุ่มนี้
    Intel Core 2 Duo E6550 :2.33GHz,4MBL2,13333MHz bus,Socket775,ราคาประมาณ 6,000 บาท
Athlon64X25000+:2.60GHz.512KBx2L2,SocketAM2,ราคาประมาณ4,400 บาท
Athlon64FX-62:2.80GHz,1MBx2L2,SocketAM2, ราคาประมาณ 12,000 บาท
ข้อสังเกต
ซีพียู่ในกลุ่มของ Core 2 Duo จะมีให้เลือก 2 รูปแบบในซีรีส์เดียว ตัวอย่างเช่น E6850 ซึ่งทั้งคู่จะมีความคล้ายคลึงกันมาก ต่างกันเพียงระบบบัสที่เปลี่ยนจาก 1066MHz มาเป็น 1333MHz แต่ปัจจุบันจะมีเพียง E6550/E6750 และ E6850 ที่จำหน่ายอยู่เท่านั้น

การใช้งานกราฟิกเป็นหลัก 
    ในบรรดากลุ่มผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ด้วยกันนั้น กลุ่มของงานกราฟิกและการตัดต่อ นับเป็นกลุ่มที่ต้องการศักยภาพในการทำงานสูงสุด เนื่องจากไม่ว่าจะเป็นระบบการเข้ารหัสไฟล์วิดีโด การตัดต่อภาพ การเรนเดอร์ออปเจ็กต์สามมิติที่มีขนาดใหญ่ ล้วนแต่พึ่งการทำงานของซีพียูเป็นหลัก ดังนั้นแล้วซีพียูที่ใช้ต้องสามารถตอบสนองต่อการประมวลผลที่ซับซ้อนได้ด ีและมีเทคโนโลยีที่รองรับโปรแกรมเฉพาะทางเหล่านี้ได้ด้วยซึ่งซีพียูที่รองรับการทำงานได้ดีในด้านนี้มีให้เลือกด้วยกันหลายรุ่นไม่ว่าจะเป็น Intel Core 2Quad หรือ AMD Phenom ที่เป็นแบบ Quad Core ที่เพิ่งวางจำหน่ายช่วงปลายปี 2550 มานี้ซีพียูที่น่าสนใจในกลุ่มนี้
    Intel Core 2 Extreme 9650:3.00GHz,12MB L2 1333MHz bus,Socket 775
Intel Core 2 Quad Q6600:2.40GHz,2MBx4L21066MHz bus, Socket 775 ราคาประมาณ 9,690 บาท
AMD Phenom X4 9500 Quad Core :2.20GHz,512KBx4 L2,Socket AM2+ราคาประมาณ 6,900 บาท

ผู้ที่ชอบความเงียบของไร้เสียงรบกวน
    ผู้ใช้กลุ่มนี้ จะเน้นการทำงานในระดับกลาง สำหรับการชมภาพยนตร์ในแบบโฮมเธียเตอร์และเพียงพอสำหรับการเล่นมีเดียไฟล์คุณภาพสูง (Hi-Def) กลุ่มนี้จัดเป็นกลุ่มที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบันมากทีเดียว ด้วยรูปแบบของซีพียูที่กินไฟน้อย เกิดความร้อนต่ำจึงทำให้ออกแบบการระบายความร้อนได้ง่ายขึ้น รวมถึงการใช้พัดลมน้อยลงเกิดเสียงดังรบกวนที่น้อยเนื่องจากมีเทคโนโลยี Enhance SpeedStep หรือ Cool”n  Quietจึงลดความร้อนในการทำงานลง สามารถใช้ในเคสคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กได้อีกด้วย ซีพียูที่น่าสนใจมีด้วยกันหลายรุ่นไม่ว่าจะเป็น Athlon X2 BE2xxx Series หรือซีพียูรุ่นใหม่จากอินเทลในแบบ 45nm ก็ตาม
     Intel Processor
     AMD Processor
ProcessorCodeProcessorCode
Celeron D3xx/ 4xxSempron64LE11xx
Pentium 45xx/ 6xxAthlon64LE16xx
Pentium Dual CoreE2xxxAthlon64/ AthlonX2X23000-6000+/ BE16xx
Core 2 DuoE4xxx/ E6xxxAthlonFX/ OptreonFX-xx/ 1xx, 2xx, 4xx, 6xx
Core 2 Extreme/ Core 2 QuardQX6xxx/ Q6xxx
ตรวจสอบความถูกต้องของซีพียูง่ายๆ ได้ด้วยตัวเอง
  • ดูจาก Properties ด้วยการคลิกขวาที่ My Computer จะบอกรุ่นซีพียูไว้ที่หน้าต่าง General
  • ใช้โปรแกรม CPUz ที่ดาวน์โหลดได้จาก www.cpuid.com/cpuz.php ซึ่งจะบอกรายละเอียดของซีพียูได้อย่างครบถ้วนไม่ว่าจะเป็น ความเร็ว แคช ฟีเจอร์
องค์ประกอบและเงื่อนไขในการรับประกัน
    การรับประกันเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ทีเดียว โดยเฉพาะกับซีพียูที่ค่อนข้างมีความอ่อนไหวและมีราคาที่สูง หากเกินความเสียหายหรือมีอาการผิดปกติขึ้นในระหว่างการใช้งานส่วนของการรับประกันจะจำเป็นมากทีเดียว โดยส่วนใหญ่การรับประกันจะมีตั้งแต่ 1-5 ปี ขึ้นอยู่กับผู้จำหน่ายแต่ละรายกำหนดไว้ ซึ่งสิ่งสำคัญ
อย่างไรก็ตามการประกันก็ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของผู้จำหน่ายด้วย โดยส่วนใหญ่ที่เป็นมาตรฐานก็คือไม่แตกหักเสียหาย ด้วยกายภาพภายนอกหรือไม่เกิดจากการไหม้หรือระเบิด รวมไปถึงบางรายจำเป็นต้องนำอุปกรณ์ต่างๆในกล่องมายืนยันด้วยอันประกอบไปด้วย การ์ดรับประกัน พัดลมและตัวซีพียู แต่ในบางครั้งก็ใช้เพียงซีพียูและ Serial Number มายืนยันเท่านั้นขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จำหน่าย

Computer Case

Computer Case คืออะไร

Case หรือ "เคส" คือ ตัวถังหรือตัวกล่องคอมพิวเตอร์หลายคนจะเรียกว่าซีพียูเนื่องจากเข้าใจผิด สำหรับเคสนั้นใช้สำหรับบรรจุอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลักของคอมพิวเตอร์เอาไว้ข้างใน เช้า CPUเมนบอร์ด การ์ดจอ ฮาร์ดดิสก์ พัดลมระบายความร้อน และที่ขาดไม่ได้คือ Power Supply ซึ่งจะมีติดอยู่ในเคสเรียบร้อย เคสคอมพิวเตอร์ควรเลือกที่รูปทรงสูงๆ เพื่อจะได้ติดตั้งอุปกรณ์ได้ง่าย และควรเลือกเคสที่มีช่องสำหรับติดตั้งฮาร์ดดิสก์ ศีดีรอมไดรฟ์ เผื่อเอาไว้หลายๆ ช่อง ใรกรณีที่ต้องการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมในภายหลังจะง่ายขึ้น

Case คือ ฮาร์ดแวร์ที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่ง ที่ห่อหุ้มอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไว้ เป็นฮาร์ดแวร์ที่รองรับฮาร์ดแวร์อื่นๆ เช่น Motherboard HDD CD-DVD PS พัดลมระบายอากาศ และ และอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ เป็นต้น มีลักษณะ เป็นทรงคล้ายรูปทรงสี่เหลี่ยม มีช่องว่างภายใน ใช้รองรับอุปกรณ์ต่าง ๆ 


ทำไมต้องมี Case ก็เพราะว่า เวลา ยกไปไหน ก็สะดวก ป้องกันไฟดูด อุปกรณ์ถูกจัดเป็นระเบียบ เก็บไว้ใน Case ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน ป้องกันอุปกรณ์เสียหาย เช่น โดนน้ำ โดนหนูเข้าไปอยู่ แมลงสาป รวมไปถึงการป้องกัน คลื่นรบกวนจากอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ตัวอื่น ๆ 

บางทีสวยแต่รูปจูบไม่หอมก็มีมากมาย มันขึ้นอยู่กับขนาดของเมนบอร์ดและการใช้งาน โดยจะแบ่งออกเป็น Flex/Micro ATX Case เป็นเคสขนาดเล็ก, Medium Tower Case เป็นเคสที่นิยมใช้กันมากที่สุด เนื่องจากขนาดกำลังพอเหมาะ, Server/Tower Case เป็นเคสที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ Server มีขนาดใหญ่กว่าเคสที่ใช้กันทั่วไปมาก 

สำหรับวัสดุที่ใช้ทำเคสก็มีหลายประเภท เช่น เคสเหล็กเคสโลหะผสมเคสอะลูมิเนียมเคสพลาสติกเคสผสม เคสประกอบไปด้วยอะไรบ้าง มีหลายส่วนครับอันแรกก็จะเป็นฐานรองเมนบอร์ด สำหรับเป็นที่ยึดเมนบอร์ดให้ติดแน่นอยู่กับเคสต่อมาก็จะเป็นปุ่มควบคุมประกอบด้วย ปุ่ม เปิด – ปิดเครื่อง และปุ่มรีเซตเครื่องรวมถึงไฟแสดงสถานะการทำงานของฮาร์ดดิสก์ และไฟแสดงสถานะว่าตอนนี้เครื่องทำงานอยู่แล้วก็ลำโพงเล็ก ๆ ที่ใช้สำหรับการแจ้งเตือนข้อผิดพลาดด้วยเสียงมันยังมีช่องสำหรับใส่ไดรฟ์ซีดีรอมฟรอบปีดิสก์ไดรฟ์ และช่องสำหรับใส่ฮาร์ดดิสก์และมี Bracket เป็นช่องทางสำหรับอุปกรณ์ต้องเชื่อมต่อภายนอกกับอุปกรณ์อื่นมีช่องระบายความร้อน ซึ่งสามารถติดตั้งพัดลมเพื่อช่วยในการระบายความร้อนมีฝาครอบเคส เป็นฝาที่สามารถ เปิด – ปิด ได้เพื่อการติดตั้งอุปกรณ์ภายในเคสมีเพาเวอร์ซัพพลาย เป็นอุปกรณ์สำหรับจ่ายพลังงาน โดยมากมักมาพร้อมเคสเสมอสุดท้ายก็พอร์ต USB และพอร์ตมัลติมีเดีย ซึ่งจะอยู่ด้านหน้าเคส ทำให้ติดตั้งอุปกรณ์ได้สะดวกขึ้นแล้วการเลือกซื้อเคสจะเลือกอย่างไร การเลือกซื้อเคส คุณต้องเลือกเคสที่รองรับเมนบอร์ดของคุณ ถ้าใช้เมนบอร์ด Pentium 4 ก็ควรเลือกเคส ATX สำหรับ Pentium 4 ซึ่งเป็นหลักการเลือกซื้อเบื้องต้น ต่อจากนั้น ก็ให้คุณเลือกเคสที่มีการออกแบบตรงใจคุณ ต่อจากนั้น ก็ต้องดูด้วยขนาดของเมนบอร์ดว่าเป็นแบบใด แต่ส่วนมากแล้วเคสส่วนใหญ่ ก็สามารถใส่ได้กับเมนบอร์ดทุกรุ่นอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังควรพิจารณาถึงจำนวนช่องสำหรับใส่อุปกรณ์ การติดตั้งพอร์ต USB ด้านหน้าและควรเลือกเคสที่มีระบบระบายความร้อนที่ดี สุดท้ายควรพิจารณาด้วยว่าเพาเวอร์ซัพพลายของเคสรุ่นนี้ เพียงพอกับอุปกรณ์ในเคสหรือไม่ ซึ่งควรใช้เพาเวอร์ซัพพลายขนาด 250 วัตต์ขึ้นไป ผมคิดว่าจะทำให้ท่านผู้อ่านรู้จักเคสดีขึ้นครับ




รูปแบบของ Case

1.Case แนวนอน 


2.Case แนวตั้ง


รูปร่างของ เคส(Case) จะแตกต่างไปตามความต้องการออกแบบของผู้ผลิต ส่วนวัสดุที่ใช้ทำเคสนั้น มีทั้งโลหะ พลาสติก อะลูมิเนียม อะคลีลิค และวัสดุผสม


การเลือกซื้อ Case

1. เลือกรูปแบบตามความต้องการของผู้ใช้

ว่ากันว่า ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน ดังนั้น การเลือก Case ก็เช่นเดียวกัน ต้องยอมรับว่าปัจจุบันนี้มีผู้ผลิตเคส หลายเจ้าได้ ดีไซน์เคสออกมาในรูปแบบต่าง ๆ สวยงาม น่าสนใจ ดังนั้น ก็เป็นกำไรของผู้บริโภค เช่นเดียวกัน แต่ต้องไม่ลืมว่าใน Case ต้องรองรับ เมนบอร์ด แบบ  ATX, ATX Full size หรือ mATX  ซึ่งเราก็สามารถสอบถามผู้ขายว่า รองรับ ATX ซึ่งก็แน่นอนว่าปัจจุบัน เป็นที่นิยมกัน แต่ก็ต้องดูงบประมาณด้วยนะครับ รวมทั้งดูข้ออื่น ๆ ด้านล่างประกอบด้วย


2. มีความสามารถใช้งานได้ตามความต้องการของคอมพิวเตอร์

ประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ ๆ ของคอมพิวเตอร์ เช่น รองรับเมนบอร์ด, Power Supply, HardDisk รวมทั้งต้องเผื่อไว้ เวลาอัพเกรด ฮาร์ดแวร์ เช่น เพิ่ม Harddisk ต้องมีช่องที่สามารถเพิ่มได้  หรือ แม้กระทั่ง ความสะดวกสบายในการใช้งาน USB ในช่องด้านหน้า ที่สำคัญอีกอย่าง คือ การวางของ Power Subbply และ พัดลมระบายความร้อน ที่ติดมากับเคส ก็ ดูภาพรวมไม่เกะกะ ยุ่งเหยิง จนเกินไป 

3. ระบายความร้อนได้ดี

ต้องเลือก Case ที่มีพัดลมระบายความร้อนด้านข้างหรือด้านบนก็จะเป็นการดี แต่อย่างไรก็ตามให้ติดตั้งเพียงพอเหมาะในการใช้งานเท่านั้น หากใส่พัดลมมากเกินไปก็อาจส่งผลให้เพาเวอร์ซัพพลายจ่ายไฟไม่เพียงพอ เกิดเสียงดังรบกวนจนน่ารำคาญ อีกทั้งทำให้ฝุ่นเข้าไปเกาะตามอุปกรณ์ต่างๆ มากไปอีกด้วย

4. มีความปลอดภัยในการติดตั้ง

เคสที่ดีต้องมีการเก็บรายละเอียดงานได้พอสมควร ไม่มีเหลี่ยมคมให้บาดมือได้ นอกจากนี้เคสบางรุ่นยังบุแถบยางในจุดที่ต้องสอดมือเข้าไปติดตั้งอย่างเช่น เพาเวอร์ซัพพลายหรือฮาร์ดดิสก์ ซึ่งช่วยป้องกันการถูกบาดหรือขูดกับผิวหนังได้ดีทีเดียว ไฟไม่รั่ว มีสายดินลง Case เพื่อไม่ให้ไฟ ดูด หลายท่านอาจเคยโดนไฟดูดที่ Case ดังนั้น เคสที่ดีต้องมีความปลอดภัยส่วนนี้ด้วย

5. ความสะดวกในการติดตั้งและจัดวางอุปกรณ์

Case ที่ดี ต้องมีความสะดวกในการติดตั้งอุปกรณ์ เพราะบางครั้งจะต้องมีการถอดเข้าถอดออก บางคนไม่ค่อยมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์แต่ต้องการติดตั้ง Harddisk เองก็สามารถเปิด อินเตอร์เน็ตแล้วทำตามได้ง่าย ๆ โดยถ้าหากบางคนเลือกซื้อ Case ที่ประกอบอุปกรณ์ยาก แล้วบางที เครื่องเสีย ต้องถอดน๊อตเยอะแยะวุ่นวายไปหมด ลักษณะที่ดึคือ สามารถ เปิดฝาด้านเดียว แล้วสามารถมองและตรวจสอบอุปกรณ์ ทุกตัว เพื่อที่จะได้ง่ายต่อการ ถอดประกอบแต่ในส่วนของสายไฟ ต้องเป็นเทคนิคส่วนบุคคลที่จะเก็บได้สวยงามและ ละเอียดแค่ไหน ซึ่งทุกวันนี้ เคสบางตัว ในการเพิ่ม Harddisk สามารถเปิดCaseด้านเดียวแล้วใส่ Harddisk เข้าไปในช่อง น๊อตยึดก็จะมีแค่ตัวเดียว อีกด้านหนึ่ง ก็จะล็อกอัตโนมัติ ถือว่าสะดวกสบายมากมายเลยครับ

6. ราคา

มาถึงเรื่องสำคัญแล้วครับ ราคา ที่ผ่านมาทั้งหมด ถ้าตรง สเปก แต่ราคาสูงเกินไปก็เปลืองครับ ลองมองหาเคสอื่นได้เลย แต่ถ้าถูกเกินไป ก็เสียงต่อ ความเสียหายของอุปกรณ์ ได้ ก็เอาเป็นว่า ราคา ที่พอรับได้กลาง ๆ แล้วกันนะครับ สำหรับผมอยู่ระหว่าง 1200 - 2500 ก็เพียงพอแล้ว เพราะ ไม่ว่าจะเป็นการระบายความร้อน ความทน ความเป็นรบ ใจจริงก็อยากแนะนำ ยี่ห้อให้ด้วย แต่ว่าเดียวจะหาว่าโฆษณาให้เขา ดังนั้น ก็เลือกตาม หัวข้อทั้ง 6 ข้อ ถ้าตรงก็ ซึ้อได้เลยครับ

RAM

RAM

ประเภทของแรม (RAM)











โดยทั่วไปสามารถแบ่ง RAM ได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ Static RAM (SRAM) และDynamic RAM(DRAM) โดยมีรายระ เอียดดังนี้

 1. Static RAM (SRAM)











ทำจากวงจรที่ใช้เก็บข้อมูลด้วยสถานะ “มีไฟ” กับ “ไม่มีไฟ” ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ตลอดเวลาตราบเท่าที่ยังมีกระแสไฟฟ้าเลี้ยงวงจรอยู่

นิยมไปใช้ทำเป็นหน่วยความจำแคช (Cache) ภายในตัว CPU เพราะมีความเร็วในการทำงานสูงกว่า DRAM มาก แต่ไม่สามารถทำให้มีขนาด ความจุสูงๆได้ เนื่องจากราคาแพงและกินกระแสไฟมากจนมักทำให้เกิดความร้อนสูง อีกทั้งวงจรก็ยังมีขนาดใหญ่ด้วย

 
2. Dynamic RAM (DRAM)
















ทำจากวงจรที่ใช้การเก็บข้อมูลด้วยสถานะ “มีประจุ” กับ “ไม่มีประจุ” ซึ่งวิธีนี้จะใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยกว่า SRAM มาก แต่โดยธรรมชาติแล้ว ประจุไฟฟ้าจะมีการรั่วไหลออกไปได้เรื่อยๆ ดังนั้นเพื่อให้ DRAM สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ตลอดเวลาตราบใดที่ยังมีกระแสไฟเลี้ยงวงจรอยู่ จึงต้องมีวงจรอีกส่วน หนึ่งคอยทำหน้าที่ “เติมประจุ” ไฟฟ้าให้เป็นระยะๆ ซึ่งเรียกกระบวนการเติมประจุไฟฟ้านี้ว่าการ รีเฟรช (Refresh)

หน่วยความจำ ประเภท DRAM นี้ นิยมนำไปใช้ทำเป็นหน่วยความจำหลักของระบบในรูปแบบของชิปอที (Integrated Circuit) บนแผงโมดูลของ หน่วยความจำ RAM หลากหลายชนิด เช่น SDRAM, DDR, DDR2, DDR3 และ RDRAM เป็นต้น โดยสามารถออกแบบให้มีขนาดความ จุสูงๆได้ กินไฟน้อย และไม่เกิดความร้อนสูง

ชนิดของ Dynamic RAM (DRAM)
DRAM ที่นำมาใช้ทำเป็นแผงหน่วย ความจำหลัก ของระบบชนิดต่างๆในปัจจุบันดังนี้

2.1 SDRAM (Synchronous Dynamic RAM)

SDRAM คือหน่วยความจำแรมที่พัฒนามาจาก DRAM เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับระบบบัสความเร็วสูงได้ โดยบริษัท Samsung เป็นผู้ พัฒนาขึ้นมาในปี ค.ศ.1993 ซึ่งหน่วยความจำก่อนหน้านี้ใช้ระบบบัสแบบอะซิงโครนัส นั่นหมายถึงจังหวะการทำงานของ CPU กับหน่วยความจำใช้ สัญญาณนาฬิกาคนละตัว จังหวะการทำงานที่ไม่ซิงโครไนซ์กันจึงเป็นปัญหา เพราะเทคโนโลยี CPU ต้องการความเร็วและมีการสร้างระบบบัสมาตรฐานขึ้น มา
ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์ แบบ TSOP (Thin Smail Outine Package) ติดตั้งอยู่บนแผงโมดูล แบบ DIMM (Dual Inline Memory Module) ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาน 2 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 168 ขา ใช้แรงดันไฟ 3.3 โวลด์ ความเร็วบัสมีให้เลือกใช้ทั้งรุ่น PC66 (66 MHz), PC100 (100 MHz), PC133 (133 MHz), PC150 (150 MHz) และPC200 (200 MHz) แต่ว่าเมื่อเทคโนลียีแรมพัฒนาขึ้นอีก SDRAM ก็มีผู้ใช้น้อยลง จนในปัจจุบัน SDRAM ถือว่าเป็น เทคโนโลยีที่เก่าไปแล้ว จะพบได้ก็แต่เพียงในคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆทั้งนั้น

2.2 DDR SDRAM (Double Date Rate SDRAM)
DDR SDRAM คือ หน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูลชั่วคราว ที่ได้รับการพัฒนาและยึดถือหลักการทำงานตามปกติของหน่วยความจำแบบ SDRAM ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบTSOP เช่นเดียวกับ SDRAM และมีขนาด ความยาวของแผงโมดูลเท่ากัน คือ 5.25 นิ้ว จึงทำให้ทำงานได้เหมือนกับ SDRAM แทบทุกอย่าง แตกต่างกันตรงที่ DDR-RAM สามารถทำงานที่ความเร็วสูงกว่า 200 MHz ขึ้นไปได้ และมีความสามารถในการรับส่งข้อมูล เพิ่มขึ้น 2 เท่า คือ รับส่งข้อมูลได้ทั้งทั้งขาขึ้นและขาลงของสัญญาณนาฬิกา เทียบกับ SDRAM ปกติที่จะรับส่งข้อมูลเฉพาะขาขึ้นของสัญญาณนาฬิกา เพียงด้านเดียว
แรมชนิดนี้สังเกตุได้จากติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ DIMM ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 1 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 184 ขา และเขี้ยวที่ด้านสัมผัสทองแดงมีอยู่ที่เดียว แตกต่างจาก SDRAM ที่มีอยู่ 2 ที่ ใช้แรงดันไฟ 2.5 โวลด์ รองรับความจุสูงสุดได้ 1 GB/แผง

การจำแนกรุ่นของ DDR SDRAM นอกจากจะจำแนกออกตามความเร็วบัสที่ใช้งาน เช่นDDR-400 (400 MHz effective) ซึ่งคิดจาก 200 MHz (ความถี่สัญญาณนาฬิกา๗ 2 (จำนวนครั้งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ละรอบของสัญญาณนาฬิกา) แล้ว ยังถูกจำแนกออกตามค่า อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล (Bandwidth) ที่มีหน่วยความจำเป็นเมกะไบต์ต่อวินาที (MB/s) ด้วยเช่น PC3200 ซึ่งคิดจาก 8 (ความ กว้างของบัสขนาด 8 ไบต์ หรือ 64 บิต) 200 MHz (ความถี่สัญญาณนาฬิกา) 2 (จำนวนครั่งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ละรอบสัญญาณ นาฬิกา)เท่ากับอัตตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 3,200 MB/s โดยประมาณนั่นเอง
ความเร็วบัสในปัจจุบันมีใหเเลือกใช้ตั่งแต่ PC2100 (DDR-266), PC2700(DDR-33), PC3600 (DDR-450), PC4000(DDR-500),PC4200(DDR-533) ไปจนถึง PC5600 (DDR-700)

2.3 DDR-II SDRAM
ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ FBGA (Fine-Pitch Ball Gril Array) ที่มีความต้านทานไฟฟ้าต่ำกว่าแบบ TSOP อีกทั่ง ยังสามารถออกแบบให้ตัวชิปมีขนาดเล็กแะบางลงได้ ชิปดังกล่าวถูกติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ DIMM ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 1 ร่อง และมี จำนวนขาทั่งสิ้น 240 ขา ใช้แรงดันไฟเพียง1.8โวลต์ รองรับความจุได้สูงสุดถึง 4 GB ความเร็วบัสในบัจจุบันมีให้เลือกใช้ตั่งแต่ 200 MHz (DDR2- 400) ไปจนถึง 450 MHz (DDR2-900)
รุ่นของ DDR-II นอกจากจำแนกออกตามความเร็วของบัสที่ใช้งาน เช่น DDR2-667 (667MHz effective) ซึ่งคิดจาก 333 MHz (ความถี่สัญญาณนาฬิกา) 2 จำนวนครั่งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ละรอบของสัญญาณนาฬิกา) แล้ว ยังถูกจำแนกออกตามค่าแบนด์วิดธ์ (Bandwidth) ด้วย เช่น PC2-5400 ซึ่งคิดจาก 8 (ความกว้างของบัสขนาด 8 ไบต์) 333MHz ( ความถี่สัญญาณนาฬิกา) 2 (จำนวนครั่งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ระรอบของสัญญาณนาฬิกา๗ เท่าอัตตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 5,400 MB/s โดยประมั่นเอง นอกจากนี้ยังมี รุ่นอื่นๆอีกเช่น PC2-4300 (DDR-533),PC2-6400(DDR2-800) และPC2-7200 (DDR2-900) เป็นต้น

สำหรับ DRAM ชนิดนี้ กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนคาดว่าในอีกไม่นานจะเข้ามาแทนที่มาตรฐานเดิมคือ DDR SDRAM ในที่ สุด

2.4 RDAM (RAMBUS DRAN)

ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท Rambus lnc โดยนำมาใช้งานครั้งแรกร่วมกับชิปเซ็ต i850 และซีพียู Pemtium 4 ของ Intel ในยุคเริ่มต้น ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร โดยชิปเซ็ตและเมนบอร์ดของ Intel เพียงบางรุ่นเท่านั้นที่สนับสนุน ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ CSP (Chip-Scale Package) ติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ RIMM (Rambus Inline Memory Module) ที่มีร่อง บากบริเวณแนวขาสัญญาณ 2 ร่อง ใช้แรงดันไฟ 2.5 โวลต์ และรองรับความจุสูงสุดได้มากถึง 2 GB ปัจจุบัน RDRAM ที่มีวางขายในท้องตลาด สามารถ แบ่งได้ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
RDRAM (16บิต) เป็น RDRAM แบบ Single Channel ที่มีความกว้างบัส 1 แชนแนลขนาด 16 บิต (2ไบต์) มีจำนวลขาทั้งสิ้น 184 ขา การจำแนกรุ่นโดย มากจำแนกออกตามความเร็วบัสที่ใช้งาน เช่น PC-800 (800 MHz),PC-1066 (1,066 MHZ) และ PC-1200 (1,200 MHz) เป็นต้น
RDRAM(32บิต) เป็น RDRAM แบบ Dual Channel ที่มีความกว้างบัส 2 แชแนลขนาด 32 บิต (4ไบต์) มีจำนวนขาทั้งสิ้น 242 ขา การจำแนกรุ่นโดยมากจะจำแนกออกตามค่าแบนด์วิดธ์ (Bandwidth) ที่ได้รับ เช่น RIMM 3200(PC-800),RIMM 4200(PC-1066),RIMM 4800(PC-1200) และ RIMM 6400 (PC-1600) เป็นต้น

นอกจากนี้ในอนาคตยังอาจพัฒนาให้มีความกว้างบัสเพิ่มมากขึ้นถึง 4 แชนแนลขนาด 64 บิต(8 ไบต์) ที่ทำงานด้วย ความเร็วบัสสูงถึง 1,333 และ 1,600 MHz effective ออกมาด้วย โดยจะให้แบนด์วิดธ์มากถึง 10.6 และ 12.8 GB/s ตามลำดับ

แหล่งที่มา : http://anurak-technology.blogspot.com/

Monitor

จอภาพ display


จอภาพหรือมอนิเตอร์ (Monitor) CRT/LCD/LED คืออะไร

จอมอนิเตอร์หรือว่าจอภาพ  มีความสำคัญสำหรับการแสดงผลข้อมูลให้กับทางด้านสายตา  ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลอะไรก็ตามที่เราสามารถที่จะดูได้ทางจอภาพไม่ว่าจะเป็น  ภาพ  แสง  สี ตัวหนังสือ  ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ในการแสดงผลหลักเลยก็ว่าได้หากไม่มีก็ไม่สามารถที่จะตรวจสอบสถานะต่างๆได้  และด้วยการแสดงผลที่ต้องมีคุณภาพจึงมีเทคโนโลยีต่างๆ  ที่พัฒนาขึ้นจากที่เคยเป็นจอขาวดำเหมือนเมื่อก่อน  แต่ก็ได้เป็นสี  โดยทั่วไปแล้วจอภาพที่เราใช้อยู่มีหลายแบบ  ทั้ง CRT  LCD cและ LED ที่ถูกแบ่งเป็น 3 ประเภทด้วยกันมีคุณภาพที่แตกต่างกัน

                                    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จอภาพ crt

จอ CRT (Cathode Ray Tube)  เป็นจอรุ่นเก่ามากตั้งแต่เริ่มต้นเลย  เมื่อก่อนเราจะพบว่าเป็นขาวดำแต่ได้พัฒนามาเป็นสีสามารถที่จะเห็นรายละเอียดมากกว่าเดิม จอ CRT การทำงานเป็นเหมือนจอโทรทัศน์รุ่นเก่าที่มีขนาดใหญ่  มีด้านหลังที่ยื่นออกไปเพราะว่าใช้การฉายแสงอิเล็กตรอนของหลอดภาพในการแสดงผล  และในการยิงแสงแต่ละครั้งจำเป็นต้องใช้เวลาจึงทำให้เราเห็นภาพไม่นิ่งอาจจะดูเหมือนสั่นตลอดเวลา  และทำให้ปวดตาในที่สุด  โดยแสงที่เกิดขึ้นจะเป็นสี  แดง  เขียว  และ  น้ำเงิน  เกิดจากการผสมสีสามสีเหล่านี้จึงทำให้เกิดเป็นสีต่างๆ  บนจอภาพให้เราเห็น  สำหรับความละเอียดภาพนั้นมีหน่วยเป็น  พิกเซล  คือเป็นจุดของการแสดงผลหากมีจำนวนมากก็จะทำให้ภาพเรามีความชัดเจนมาก  เนื่องจากการทำงานดังกล่าวทำให้เกิดความร้อนและใช้พลังงานสูงมาก มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก และยังมีรังสีแผกระจายออกมาได้  จึงได้พัฒนาเทคโนโลยีมาใหม่  และยกเลิกการผลิตไปแล้ว  จึงไม่มีขายตามท้องตลาดหรือว่ามีเพียงแค่ของมือสองเท่านั้น

                                           ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จอภาพ lcd


จอ LCD (Liquid Crystal Display)  มีการใช้เทคโนโลยีแทนการใช้หลอดภาพซึ่งเมื่อก่อนราคาสูงมากแต่ปัจจุบันราคาถูกกว่าเดิมจึงสามารถที่จะมาแทนจอรุ่นเก่าได้  ในยุกแรกๆเราอาจจะเห็นผลิตไว้สำหรับคอมพิวเตอร์แบบกพพาจำพวกโน๊คบุ๊คเท่านั้นหรือว่าเมือถือ การทำงานโดยใช้ผลึกของเหลวกึ่งของแข็งในการแสดงภาพและใช้หลอดไฟในการส่องแสงสว่างให้กับจอออกมาจึงทำให้เราเป็นภาพต่างๆ  และด้วนเห็นนี้จึงสามารถที่จะมองเห็นด้วยความละเอียดกว่า  แต่เนื่องจากมีข้อจำกัด  อย่าเช่นการมองไม่ถูกมุมอาจจะทำให้สีที่เราเห็นนั้นผิดไปและไม่ชัดในบางมุมด้วย และอาจจะแสดงผลที่ช้ากว่าจอ CRT จึงมีการระบุความเร็วในการแสดงผลไว้กับรายละเอียดการเลือกซื้อด้วย  ระยะเวลาในการใช้งานมีข้อจำกัดด้วย  แต่ด้วยไม่มีรังสี  ใช้ความร้อนและพลังงานน้อยกว่า  และมีเทคโนโลยีในการรองรับการทำงานแบบใหม่  สามารถที่จะดูหนังได้สมจริง มีขนาดที่เล็ก  จึงทำให้ได้รับความนิยม
                                         ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จอภาพ led
จอ LED ที่ได้รับการพัฒนาต่อจาก LCD มีหลักการทำงานที่รูปแบบเดียวกันแต่ว่าใช้หลอด LED ที่เป็นหลดขนาดเล็กมาในการส่องแสงแทนการใช้หลอดไฟแบบ LCD จึงทำให้สามารถที่จะประหยัดไฟกว่าและความร้อนน้อยกว่า  และที่สำคัญสามารถที่จะสานต่อเทคโนโลยีได้มากกว่า  ปัจจุบันจึงมาแทนจอแบบ LCD มากกว่าจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันจะใช้จอภาพที่ทำจาก LED มากกว่า  และสามารถที่จะพัฒนาการเชื่อมต่อสัญญาณภาพแบบใหม่ที่ให้ความละเอียดสูง  และสามารถที่จะใช้งานในรูปแบบ 3 ได้ด้วย
           จะเห็นได้จอภาพเป็นส่วนที่สำคัญในการแสดงผลจึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้งานและควรที่จะเลือกให้เหมาะสมกับงานเพราะว่ามีขนาดและความละเอียดที่แตกต่างกัน  และเทคโนโลยีจึงทำให้มีคุณสมบัติเพิ่มเติมและรายละเอียดที่ต้องพิจารณามากขึ้นกว่าเดิม